ผลการศึกษางานวิจัย เรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายงานการศึกษางานวิจัย
1. สถาบัน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. ชื่อเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีที่ทำการวิจัย 2551
3. ชื่อผู้วิจัย พิชิต ทีอุปมา
4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนทดสอบหลังเรียนกับคะแนนทดสอบก่อนการเรียน จากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว
5. ขอบเขตของการวิจัย
5.1 ประชากร
ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 4 ห้อง มีนักเรียนทั้งหมด 184 คน
5.2 กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวนนักเรียน 46 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยทำการสุ่มห้องเรียนเข้าเป็นกลุ่มตัวอย่าง 1 ห้องเรียน แล้วใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับฉลากนักเรียนเข้าเป็นกลุ่มเพื่อทดลอง 3 กลุ่มย่อย ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ใช้ในการทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง จำนวน 3 คน
กลุ่มที่ 2 ใช้ในการทดลองแบบกลุ่มเล็ก จำนวน 9 คน
กลุ่มที่ 3 ใช้ในการทดลองภาคสนาม จำนวน 34 คน
5.3 ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น คือ การเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ตัวแปรตาม ได้แก่
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
- ความคิดเห็นที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
5.4 เนื้อหา
เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้ที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ประกอบด้วย 10 ตอน คือ
1. เรื่องปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศ เวลาที่ใช้เรียน 1 ชั่วโมง
2. เรื่องการเกิดเมฆ หมอก เวลาที่ใช้เรียน 1 ชั่วโมง
3. เรื่องชนิดของเมฆ เวลาที่ใช้เรียน 1 ชั่วโมง
4. เรื่องหยาดน้ำฟ้า หยดน้ำค้าง เวลาที่ใช้เรียน 1 ชั่วโมง
5. เรื่องอุณหภูมิ ความชื้น ความดันอากาศ เวลาที่ใช้เรียน 1 ชั่วโมง
6. เรื่องลม เวลาที่ใช้เรียน 1 ชั่วโมง
7. เรื่องวัฏจักรของน้ำ เวลาที่ใช้เรียน 1 ชั่วโมง
8. เรื่องกลางวันกลางคืน เวลาที่ใช้เรียน 1 ชั่วโมง
9. เรื่องทิศ เวลาที่ใช้เรียน 1 ชั่วโมง
10. เรื่องปรากฏการณ์ขึ้นตกของดวงดาว เวลาที่ใช้เรียน 1 ชั่วโมง
รวาเวลาที่ใช้ในการทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั้งหมด 10 ชั่วโมง
5.5 แบบทดสอบ
ในการวัดความรู้ก่อนและหลังเรียนใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ซึ่งเป็นแบบทดสอบฉบับเดียวกัน เป็นแบบทดสอบที่สามารถวัดด้านพุทธิพิสัย ระดับความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และการนำไปใช้
5.6 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบการสอน (Tutorial)
6. ระเบียบวิธีการวิจัยของเรื่อง
ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แลพเพื่อเปรียบเทียบคะแนนทดสอบหลังเรียนและก่อนเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
1. รูปแบบการวิจัย
2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
4. เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
5. การสร้างเครื่องมือและหาประสิทธิภาพเครื่องมือ
6. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
7. การวิเคราะห์ข้อมูล
1. รูปแบบการวิจัย
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีรูปแบบการทดลองดังนี้
Group Pretest Treatment Posttest
R T1 X T2
R แทน กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่ม
T1 แทน การทดสอบก่อนการทดลอง
X แทน การสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
T2 แทน การทดสอบหลังการทดลอง
2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 4 ห้อง มีนักเรียนทั้งหมด 184 คน
2.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวนนักเรียน 46 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยทำการสุ่มห้องเรียนเข้าเป็นกลุ่มตัวอย่าง 1 ห้องเรียน แล้วใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับฉลากนักเรียนเข้าเป็นกลุ่มเพื่อทดลอง 3 กลุ่มย่อย ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ใช้ในการทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง จำนวน 3 คน
กลุ่มที่ 2 ใช้ในการทดลองแบบกลุ่มเล็ก จำนวน 9 คน
กลุ่มที่ 3 ใช้ในการทดลองภาคสนาม จำนวน 34 คน
และในการทดสอบสมมติฐานนั้น ใช้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ของโรงเรียนเทศบาลวัดกลาง จำนวน 46 คน เป็นกลุ่มทดสอบ
3. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรต้น คือ การเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ตัวแปรตาม ได้แก่
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
- ความคิดเห็นที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
4. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4.1 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว จำนวน 10 ตอน
4.2 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนเป็นแบบทดสอบฉบับเดียวกันจำนวนตอนละ 10 ข้อ ชนิดแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
4.3 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว
4.4 แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของผู้เชี่ยวชาญ
5. การสร้างเครื่องมือและหาประสิทธิภาพเครื่องมือ
5.1 การสร้างและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
5.1.1 ศึกษาแนวคิดในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามแนวคิดต่างๆและพิจารณาเลือกแนวคิดที่จะใช้ในการออกแบบ
5.1.2 ศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์เนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
โดยคัดเลือกเนื้อหาในลักษณะที่ให้ความรู้ความเข้าใจเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นเนื้อหาในสาระการเรียนรู้ที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกและสาระการเรียนรู้ที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ ซึ่งตรงกับหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 น้ำ ฟ้า และดวงดาว
5.1.3 วางแผนการดำเนินการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ น้ำ ฟ้า และดวงดาว ระดับชั้นประถมศึกษปีที่ 5 ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้แบ่งเนื้อหาทั้งหมด 10 หน่วยย่อย
5.1.4 วางแผนการนำกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ น้ำ ฟ้า และดวงดาว ระดับชั้นประถมศึกษปีที่ 5 มาตัดแบ่งเนื้อหาได้ทั้งหมด 10 ตอนดังนี้
เรื่องปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศ เวลาที่ใช้เรียน 1 ชั่วโมง
เรื่องการเกิดเมฆ หมอก เวลาที่ใช้เรียน 1 ชั่วโมง
เรื่องชนิดของเมฆ เวลาที่ใช้เรียน 1 ชั่วโมง
เรื่องหยาดน้ำฟ้า หยดน้ำค้าง เวลาที่ใช้เรียน 1 ชั่วโมง
เรื่องอุณหภูมิ ความชื้น ความดันอากาศ เวลาที่ใช้เรียน 1 ชั่วโมง
เรื่องลม เวลาที่ใช้เรียน 1 ชั่วโมง
เรื่องวัฏจักรของน้ำ เวลาที่ใช้เรียน 1 ชั่วโมง
เรื่องกลางวันกลางคืน เวลาที่ใช้เรียน 1 ชั่วโมง
เรื่องทิศ เวลาที่ใช้เรียน 1 ชั่วโมง
เรื่องปรากฏการณ์ขึ้นตกของดวงดาว เวลาที่ใช้เรียน 1 ชั่วโมง
รวาเวลาที่ใช้ในการทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั้งหมด 10 ชั่วโมง จากนั้นนำเนื้อหาในแต่ละหน่วยย่อยมาเรียบเรียงเป็นกรอบเนื้อหาที่จะใช้ในการเรียน
5.1.5 ออกแบบหน้าจอและเขียนแผ่นเรื่องราวของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ น้ำ ฟ้า และดวงดาว ระดับชั้นประถมศึกษปีที่ 5 แล้วนำเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์พิจารณาเพื่อทำการแก้ไข
5.1.6 ศึกษาระบบคอมพิวเตอร์ที่จะนำบทเรียนไปใช้และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะสนับสนุนการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรวมทั้งสภาพแวดล้อมทางการเรียนต่างๆ
5.1.7 ศึกษาศักยภาพของซอฟแวร์ที่จะใช้ในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ กรรมการที่ปรึกษา พิจารณาข้อดีข้อเสีย และทดลองใช้
5.1.8 ศึกษาและกำหนดแบบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างเป็นแบบการสอนซึ่งเป็นบทเรียนที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางเพราะเหมาะสมกับทุกเหตุการณ์การสอน
5.1.9 วิเคราะห์ผู้เรียน
5.1.10 กำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
5.1.11 ออกแบบบทเรียน
5.1.12 วิเคราะห์บทเรียนเพื่อกำหนดจำนวนกรอบ
5.1.13 เขียนแผนผังแสดงการทำงานของโปรแกรมนำเสนอคณะกรรมการและผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อและด้านเนื้อหาเพื่อตรวจสอบ
5.1.14 สร้างบทเรียนบนกระดาษแผ่นเรื่องราวโดยดำเนินการร่างเนื้อเหาการสอนให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนและคำนึงถึงความน่าสนใจของบทเรียนในแต่ละกรอบ
5.1.15 นำบทเรียนบนกระดาษแผ่นเรื่องราวที่สร้างขึ้นเสนอกรรมการที่ปรึกษาและใหผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อและเนื้อหาตรวจสอบเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆแล้วนำเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบพิจารณา
5.1.16 สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามบทเรียนที่สร้างขึ้นบนกระดาษแผ่นเรื่องราวและตามผังงานโครงสร้างของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบไว้
5.1.17 นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นนำเสนอกรรมการที่ปรึกษาและให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านเป็นผู้ตรวจสอบและประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
5.1.18 ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
5.1.19 จัดทำคู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับนักเรียนและสำหรับผู้สอนนำเสนอกรรมการที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
5.1.20 นำสื่อที่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพ
5.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบที่ใช้ในการทดสอบก่อนเรียน
และหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ น้ำ ฟ้า และดวงดาว ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นเนื้อหาในสาระการเรียนรู้ที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกและสาระการเรียนรู้ที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเองโดยมีลำดับขั้นตอนการสร้างดังต่อไปนี้
5.2.1 ศึกษาหลักการและวิธีสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากตำราและเอกสารต่างๆ
5.2.2 ศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์เนื้อหา
5.2.3 กำหนดขอบเขตของเนื้อหาและเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
5.2.4 สร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตรโดยยึดตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมปลายทาง
5.2.5 สร้างแบบทดสอบโดยยึดตารางวิเคราะห์หลักสูตรเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 150 ข้อ
5.2.6 นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นเสนอผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านวัดผลตามลำดับเพื่อพิจารณาความเที่ยวตรงเชิงเนื้อหาและพิจารณาให้ค่าดัชนีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ( IOC ) จากนั้นนำคะแนนการประเมินของผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้องซึ่งถ้าได้มากกว่าหรือเท่ากับ 0.5 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ข้อใดต่ำกว่า 0.5 ถือว่าต่ำกว่าเกณฑ์ให้ตัดทิ้งไป
5.2.7 คัดเลือกข้อสอบที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไปให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่ต้องการวัดและมีจำนวนข้อสอบสอดคล้องกับตารางวิเคราะห์หลักสูตร
5.2.8 นำแบบทดสอบที่ได้ไปทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนเทศบาลวัดกลางซึ่งเคยผ่านการเรียนหน่วยการเรียนรู้นี้มาแล้วจำนวน 45 คน
5.2.9 นำผลการทดสอบมาตรวจให้คะแนนเพื่อวิเคราะห์หาความยากง่ายและค่าดัชนีจำแนก (B-Index) ของแบบทดสอบ
5.2.10 คัดเลือกข้อสอบที่มีความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 และค่าดัชนีจำแนก(B-Index) ตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป
5.2.11 นำข้อสอบที่ได้ไปหาค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งฉบับ
5.2.12 นำผลการวิเคราะห์แบบทดสอบที่ได้เสนอต่อกรรมการที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านวัดผลเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของผลการวิเคราะห์และกำหนอให้เป็นแบบทดสอบวัดผลทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
5.3 แบบสอบถามความคิดเห็น
แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องปรากฏการณ์ลม ฟ้า อากาศ ซึ่งผู้วิจัยไดสร้างขึ้น มีลำดับขั้นตอนการสร้างดังต่อไปนี้
5.3.1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้และการประเมินผลบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
5.3.2 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบสอบถาม
5.3.3 กำหนดโครงสร้างและวัตถุประสงค์ของแบบสอบถาม
5.3.4 สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นให้สอดคล้องกับโครงสร้างและวัตถุประสงค์
5.3.5 นำแบบสอบถามความคิดเห็นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
5.3.6 จัดพิมพ์แบบสอบถาม
5.4 แบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
แบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีลำดับขั้นตอนการสร้างดังต่อไปนี้
5.4.1 ศึกษาแบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5.4.2 สร้างแบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้ครอบคลุมองค์ประกอบบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
5.4.3 นำแบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเพื่อ
ปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำมาทดลองใช้
5.4.4 จัดพิมพ์แบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนฉบับสมบูรณ์เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ
ได้ใช้ในการประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
6. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
6.1 การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยให้นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งการทดลองรายบุคคล การทดลองกลุ่มเล็ก การทดลองภาคสนาม และการทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐาน ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ฝ่ายประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดกลาง ซึ่งในการทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนนั้น นักเรียนสามารถทำกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เลย โดยจะมีการเก็บบันทึกข้อมูลต่างๆไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์
6.2 การตอบแบบสอบถาม
ในการตอบแบบสอบถาม ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เมื่อนักเรียนเรียนจบบทเรียนแล้ว
7. การวิเคราะห์ข้อมูล
7.1 เปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนและหลังเรียน
7.2 วิเคราะห์ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว
7. ผลการวิจัย
จากการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยเป็นดังต่อไปนี้
7.1 ผลจากการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 97.65-75.77
7.2 ผลการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบหลังเรียนกับคะแนนทดสอบก่อนเรียน จากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผลการวิจัยสรุปได้ว่าคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
7.3 ผลจากการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีทุกด้าน คือด้านเทคนิค ด้านผลป้อนกลับ ด้านการออกแบบหน้าจอ ด้านการออกแบบการสอน และด้านเนื้อหาตามลำดับ
8. ข้อเสนอแนะของงานวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องน้ำ ฟ้า และดวงดาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีข้อเสนอแนะดังนี้
8.1 เกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพ ก่อนที่ครูจะนำเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไปใช้ ครูควรศึกษาพื้นฐานและความสามารถของนักเรียนและควรปรับเกณฑ์ให้เหมาะสมกับนักเรียนเพื่อเป็นการสร้างกำลังใจและแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียน
8.2 ควรพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนใช้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในสาระย่อยอื่นๆ เช่น ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม แรงและการเคลื่อนที่ พลังงาน
8.3 ควรมีการส่งเสริมให้นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียนมากยิ่งขึ้น เพราะนักเรียนมีความต้องการที่จะเรียนรู้กับประสบการณ์ที่แปลกใหม่
8.4 ควรมีการออกแบบและพัฒนาต่อยอดบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในเนื้อหานี้ไปสู่การใช้งานในระบบออนไลน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่อไป เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา
—————————————————–
โดย นางสาวเพ็ญศิริ ฤทธิกรณ์ รหัสนิสิต 5614650890
ระเบียบวิธีวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (รหัสวิชา 01169591)