Archive

Author Archive

สรุปงานวิจัย : The Degree of Effectiveness of CAI with Sixth Grade Students Found to be at the Frustrational Level in Multiplication and Division Computation

July 11th, 2013 wipawadee No comments

สรุปงานวิจัยต่างประเทศ

1. ชื่อสถาบัน University of Cincinnati (อเมริกา)

2. ชื่อเรื่อง The Degree of Effectiveness of CAI with Sixth Grade Students Found to be at the Frustrational Level in Multiplication and Division Computation (2010)

ความมีประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในการแก้ปัญหาเรื่องการคูณและการคำนวณ

3. ชื่อผู้วิจัย Carrie Elizabeth Bunger

4. วัตถุประสงค์ 1. พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้มีประสิทธิภาพ 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและการเรียนแบบปกติ

5 ขอบเขตการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

6. ระเบียบวิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง

7. ผลการวิจัย

1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการเรียนที่มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนแบบห้องเรียนปกติ

2. ผลการพัฒนาบทเรียนเรียนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

8. ข้อเสนอแนะ ควรพัฒนารูปแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้มีความหลากหลาย

นางสาววิภาวดี   ประเสริฐศรี

รหัสนักศึกษา 5614650946

สาขาเทคโนโลยีการศึกษา (ภาคพิเศษ)

รายงานสรุปเป็นส่วนหนึ่งของวิชา 01169591 ระเบียบวิธีวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา(Research Method in Educational Technology) รศ.ดร.สาโรช โศภีรักข์

Did you like this? Share it:
Categories: Uncategorized Tags:

สรุป: ผลการเรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยศิลปะสมัยใหม่ตอนต้นโดยใช้กิจกรรมการจัดการความรู้ในกระบวนการเรียนการสอน

July 10th, 2013 wipawadee No comments

1.  ชื่อเรื่องงานวิจัย ผลการเรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยศิลปะสมัยใหม่ตอนต้นโดยใช้กิจกรรมการจัดการความรู้ในกระบวนการเรียนการสอน

2. ผลงานวิจัยของ สุชัญญ์  พฤกษวัลต์

3. ปี 2555  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

4. วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยศิลปะสมัยใหม่ตอนต้น โดยใช้กิจกรรมการจัดการความรู้ในกระบวนการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนและความคงทนในการเรียนรู้ด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยศิลปะสมัยใหม่ตอนต้น โดยใช้กิจกรรมการจัดการความรู้ในกระบวนการเรียนการสอน

3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียน ด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยศิลปะสมัยใหม่ตอนต้น โดยใช้กิจกรรมการจัดการความรู้ในกระบวนการเรียนการสอน

5.  ขอบเขตการวิจัย

ประชากร

แผนกวิชาศิลปศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีการศึกษา 2554 ซึ่งไม่เคยได้รับการเรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ตหน่วยศิลปะสมัยใหม่ตอนต้น จำนวน 168 คน

กลุ่มตัวอย่าง

นักศึกษา แผนกวิชาศิลปศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 277-201 ประวัติศาสตร์ จำนวน 48 คน

ตัวแปรอิสระ

การเรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยศิลปะสมัยใหม่ตอนต้น โดยใช้กิจกรรมจัดการความรู้ในกระบวนการเรียนการสอน

ตัวแปรตาม คือ

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหน่วยศิลปะสมัยใหม่ตอนต้น โดยใช้กิจกรรมจัดการความรู้ในกระบวนการเรียนการสอน

2. ความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งได้หลังจากผ่านการเรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยศิลปะสมัยใหม่ตอนต้น โดยใช้กิจกรรมจัดการความรู้ในกระบวนการเรียนการสอน

3. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยศิลปะสมัยใหม่ตอนต้น โดยใช้กิจกรรมจัดการความรู้ในกระบวนการเรียนการสอน

เนื้อหาในการวิจัยครั้งนี้เป็นเนื้อหาในรายวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ หน่วยศิลปะสมัยใหม่ตอนต้น ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ครอบคลุมประวัติศาสตร์และรูปแบบของงานศิลปะไทยและต่างชาติตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน

6. ระเบียบวิธีการวิจัย

แบบแผนการวิจัย

ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดี่ยวสอบก่อนและหลัง (One group Pretest-Posstest Design)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1.บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยศิลปะสมัยใหม่ตอนต้น โดยใช้กิจกรรมการจัดความรู้ในกระบวนการเรียนการสอน ที่ผ่านการหาประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80

2.แบบประเมินคุณภาพบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยศิลปะสมัยใหม่ตอนต้น โดยใช้กิจกรรมการจัดความรู้ในกระบวนการเรียนการสอน สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ

3.แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนเกี่ยวกับบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยศิลปะสมัยใหม่ตอนต้น โดยใช้กิจกรรมการจัดความรู้ในกระบวนการเรียนการสอน

4.แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการจัดความรู้ในกระบวนการเรียนการสอนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยศิลปะสมัยใหม่ตอนต้น

5.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

6.แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยศิลปะสมัยใหม่ตอนต้น

7. ผลการวิจัย

1. คุณภาพบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยศิลปะสมัยใหม่ตอนต้น โดยใช้กิจกรรมการจัดการความรู้ในกระบวนการเรียนการสอน ที่ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านภาพรวมมีคุณภาพความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและมีประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์ เฉลี่ยร้อยละ 82.86/89.52

2. ผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยศิลปะสมัยใหม่ตอนต้น โดยใช้กิจกรรมการจัดการความรู้ในกระบวนการเรียนการสอน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้เรียนมีความคงทนทางการเรียนรู้หลังผ่านไป 2 สัปดาห์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยศิลปะสมัยใหม่ตอนต้น โดยใช้กิจกรรมการจัดการความรู้ในกระบวนการเรียนการสอน มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

8. ข้อเสนอเเนะ

1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปใช้

1.1 การนำบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน่วยศิลปะสมัยใหม่ตอนต้นนี้ไปใช้ ควรคำนึงถึงความพร้อมขององค์ประกอบตามรูปแบบการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะความพร้อมของผู้เรียน ควรจัดให้มีการปฐมนิเทศเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการเรียนในลักษณะนี้ซึ่งผู้เรียนต้องมีบทบาทในการเรียนรู้และรับผิดชอบต่อการเรียนของตนเอง ชี้แจงประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ

1.2 การเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีต่าง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครือข่ายโดยต้องเตรียมพร้อมเพื่อให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา

1.3 มีการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน เช่น ผู้สอนร่วมทำกิจกรรมกับผู้เรียน รวมถึงการเชิญบุคคลภายนอกมาร่วมทำกิจกรรมในชั้นเรียนเพื่อสนับสนุนการแบ่งปันความรู้

2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรนำรูปแบบการเรียนการสอนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาบูรณาการร่วมกันกับกระบวนการจัดการความรู้เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในหน่วยอื่นๆ ของรายวิชาศิลปะ

2.2 ควรเพิ่มรูปแบบการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ในลักษณะอื่นๆ

2.3 ควรศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียนเพิ่มเติมเป็นระยะๆ

2.4 ควรมีการศึกษาและพัฒนารูปแบบของบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ในการจัดการเรียนการสอนกับรายวิชาอื่นๆที่สามารถนำกระบวนการจัดการความรู้เข้ามาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์

ผู้จัดทำ นางสาววิภาวดี  ประเสริฐศรี สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (ภาคพิเศษ)

เนื้อหาทั้งหมด สรุปส่งรายวิชา 01169591 ระเบียบวิธีวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา(Research Method in Educational Technology) รศ.ดร.สาโรช โศภีรักข์

Did you like this? Share it: