Archive

Author Archive

สรุปงานวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดีย เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา

July 12th, 2013 veesarn No comments

1.  ชื่อสถาบัน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2.  ชื่อวิทยานิพนธ์

การพัฒนารูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดีย

เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา

3.  ปี พ.ศ.

ปีการศึกษา : 2553

3.  ชื่อผู้ทำวิจัย

นายณัฐกร สงคราม

สาขาวิชา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : รองศาสตราจารย์ ดร.อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง

:             รองศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา รัตนเพียร

4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต โดยวิธีการดำเนินการวิจัย เริ่มจากการสำรวจสภาพ ปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนการสอนจากคณาจารย์สาขาเกษตรศาสตร์ จำนวน 69 คน ในสถาบันอุดมศึกษาไทย 13  แห่ง และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา ทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์กลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน โดยมีระยะเวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์แล้วให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ตรวจรับรองความเหมาะสมของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test

5.สมมุติฐานของการวิจัย

5.1  นิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต เมื่อเรียนตามรูปแบบการเรียนที,

ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดีย มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหา

หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5.2  นิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต เมื่อเรียนตามรูปแบบการเรียนที่

ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดีย มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหา

หลังเรียนสูงกว่านิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ที่เรียนตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ตามรูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

6.ขอบเขตของการวิจัย

ประชากรในการวิจัยได้แก่ อาจารย์ นิสิตนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์หรือคณะอื่นที่

จัดการเรียนการสอนวิชาทางด้านการเกษตร ภายในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย รวมทั้ง

ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา

โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ดังนี้

6.1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจสภาพ ปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนการสอนของสาขาเกษตรศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาไทย ได้แก่ คณาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ หรือคณะอื่นที่จัดการเรียนการสอนวิชาทางด้านการเกษตร ภายในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย 13 แห่ง จำนวนทั้งสิ้น 69  คน

6.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียในการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก จำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการใช้เครื่องมือทางปัญญาในการเรียนการสอน จำนวน 3 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงรวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 6  คน

6.3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพต้นแบบรูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา และมีประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทางปัญญาประกอบการเรียนการสอน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง

จำนวนทั้งสิ้น 5  คน

6.4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต ก่อนและหลังการเรียนผ่านรูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดีย และศึกษาพฤติกรรมการเรียน ได้แก่นักศึกษาปริญญาตรี สาขาพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากร ชั้นปีที่ 2-3 คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยใช้วิธีเลือกแบบ

เจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 60 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองจำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน

6.5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการรับรองรูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นการเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 5 คน

7. ระเบียบวิธีวิจัย

7. 1 การศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนการสอนของสาขาเกษตรศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาไทย และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียในการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา

1. การศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนการสอนของสาขาเกษตรศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาไทยโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ไปยังคณาจารย์ในคณะเกษตรศาสตร์หรือคณะอื่นที่จัดการเรียนการสอนวิชาทางด้านการเกษตร ภายในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย จำนวน 13 แห่ง ซึ่งได้รับแบบสอบถามที่ตอบกลับทางไปรษณีย์ จำนวนทั้งสิ้น 69 ชุด

7.2. การความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียในการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักและการใช้เครื่องมือทางปัญญาในการเรียนการสอน จำนวน 6 คนขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต

1. กำหนดกรอบแนวคิดในการสร้างต้นแบบรูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิตโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานแนวคิด ทฤษฎี หลักการ จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย (1) ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก เพื่อกำหนดองค์ประกอบและขั้นตอนของกระบวนการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก (2) ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา เพื่อกำหนดปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา และ (3) ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือทางปัญญา เพื่อกำหนดรูปแบบและลักษณะการใช้งานเครื่องมือทางปัญญา ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการสำรวจสภาพ ปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนการสอนของคณะเกษตรศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาไทย และจากการสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียในการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักในขั้นตอนที่ 1

7.3. สร้างต้นแบบรูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา และมีประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทางปัญญาประกอบการเรียนการสอน จำนวน 5 คน ทำการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต

1. ทดลองใช้รูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิตกับนักศึกษาปริญญาตรี สาขาพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากรชั้นปีที่ 2-3 คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน จะเรียนตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นและใช้เครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียสนับสนุนการเรียน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คนเรียนตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักเช่นเดียวกันแต่ไม่ได้ใช้เครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียสนับสนุนการเรียน

2. ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนเรียน จำนวน 30 ข้อจากนั้นให้เรียนตามแผนการเรียนที่กำหนดให้ โดยแต่ละกลุ่มจะต้องเรียนรู้จากการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ตัวอย่างเดียวกัน ซึ่งใช้ระยะเวลาในการดำเนินการทดลองทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ ระหว่างการทำกิจกรรมการเรียน มีการสังเกตพฤติกรรมการเรียนเป็นระยะๆ ทั้งพฤติกรรมการเรียนในห้องเรียนและนอกห้องเรียน

3. ให้คณาจารย์สาขาเกษตรศาสตร์และเกษตรกรที่เข้ารับฟังการนำเสนอของกลุ่มตัวอย่างทำการประเมินคุณภาพของผลงานที่แต่ละกลุ่มนำเสนอ หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางการเกษตรหลังเรียน และทำแบบสอบถามความคิดเห็นในการเรียน

7. 4. การนำเสนอรูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต

1. นำรูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิตที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อค้นพบทที่เกิดขึ้นภายหลังจากการทดลอง ไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นการเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา จำนวน 5 คน ประเมินรับรองรูปแบบฯ โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรายละเอียดของรูปแบบ

2. นำข้อมูลและข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้ทรงคุณวุฒิมาปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดของรูปแบบ

และแผนแสดงรายละเอียดกิจกรรมในแต่ละขั้นตอน ให้มีความถูกต้องและสมบูรณ์มากที่สุด

3. นำเสนอรูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต

8.สรุปผลการวิจัย

8.1. ผลการสำรวจสภาพ และปัญหาในการจัดการเรียนการสอนของคณาจารย์สาขาเกษตรศาสตร์

จำนวน 69 คน จากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย จำนวน 13 แห่ง แยกออกเป็น 6 ด้าน ดังนี้

8.1.1 สภาพปัจจุบันด้านหลักสูตรหรือสาขาวิชา พบว่าส่วนใหญ่แล้ว จุดมุ่งหมายของหลักสูตรมุ่งเน้นให้นิสิตนักศึกษาเป็นผู้ที่ความรอบรู้หลายด้าน (ร้อยละ 76.81) มีจำนวนคณาจารย์เพียงพอ แต่ขาดแคลนความเชี่ยวชาญในบางสาขา (ร้อยละ 52.17) ส่วนจำนวนบุคลากรสายสนับสนุน มีไม่เพียงพอ (ร้อยละ 42.03) ส่วนปัญหาส่วนใหญ่ที่เป็นอุปสรรคด้านหลักสูตรหรือสาขาวิชา คือ ไม่มีการติดตามและการประเมินผลหลักสูตรอย่างเป็นระบบและต่อเนืjอง (ร้อยละ62.32)

8.1.2 สภาพปัจจุบันด้านผู้สอน พบว่าส่วนใหญ่แล้ว แหล่งสารสนเทศที่ผู้สอนใช้ในการสืบค้นข้อมูลเพื่อเตรียมการสอน คือ อินเทอร์เน็ตและฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ (ระดับมาก X =2.86) การพัฒนาเทคนิคและวิธีการสอนของตนเอง ได้แก่ การประชุม ฝึกอบรม และสัมมนา (ร้อยละ 89.86) ส่วนปัญหาส่วนใหญ่ที่เป็นอุปสรรคด้านผู้สอน คือ อาจารย์มีภาระที่นอกเหนือจากการสอนมาก ทำให้ประสิทธิภาพของการสอนลดน้อยลง (ร้อยละ 68.12)

8.1.3 สภาพปัจจุบันด้านผู้เรียน พบว่าส่วนใหญ่แล้ว พฤติกรรมการเรียนที่นิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาไทยแสดงออกมากที่สุด คือ ไม่ชอบแสดงความคิดเห็น (ร้อยละ 86.96) พฤติกรรมที่แสดงออกน้อยที่สุด คือ ทดลองแก้ไขด้วยตนเองก่อน หากไม่ได้จึงค่อยถาม (ร้อยละ 0.00) ส่วนพื้นฐานความรู้ ทักษะและคุณลักษณะต่างๆ ของนิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาไทย มีมากที่สุด คือ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต แต่ก็อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.35) ในขณะที่ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับน้อยที่สุด X = 1.11) ส่วนปัญหาส่วนให้ที่เป็นอุปสรรคด้านผู้เรียน คือ พื้นฐานความรู้ และทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนมีน้อย (ร้อยละ 89.23)

8.1.4 สภาพปัจจุบันด้านกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่าส่วนใหญ่แล้ว การบรรยายเป็นเทคนิคและวิธีการเรียนการสอนที่ใช้มากที่สุด (ร้อยละ 98.55) โดยสิ่งที่ผู้สอนคำนึงถึงในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละครั้ง คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน (ร้อยละ 71.01) และขั้นตอนที่ให้ความสำคัญมากที่สุดในการจัดการเรียนการสอน คือ การแจ้งวัตถุประสงค์ของการเรียนในครั้งนั้นให้ผู้เรียนทราบ หรือแสดงหัวข้อเนื้อหาทั้งหมดที่จะเรียน (ร้อยละ 56.52) ที่ผ่านมาผู้สอนเคยจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้เรียนในลักษณะของการสอนเนื้อหาบางส่วนแล้วให้ผู้เรียนทดสอบแก้ปัญหาที่ท่านกำหนดให้ (ร้อยละ 49.28) ส่วน

ปัญหาส่วนใหญ่ที่เป็นอุปสรรคด้านกิจกรรมการเรียนการสอน คือ ผู้เรียนไม่ให้ความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดเท่าที่ควร (ร้อยละ 63.77)

8.1.5 สภาพปัจจุบันด้านสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้ พบว่าส่วนใหญ่แล้ว ผู้สอนมีการใช้สื่อ/อุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนทุกครั้ง (ร้อยละ 65.22) โดยวิธีการได้มาของสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอน มาจากผลิตขึ้นมาเองทั้งหมด รวมทั้งอาจมีเจ้าหน้าที่หรือนิสิตนักศึกษาช่วยผลิต (ร้อยละ 46.38) แนวทางในการเลือกใช้หรือผลิตสื่อ นอกจากความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนแล้ว ผู้สอนยังคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้เรียน (ร้อยละ 46.38) ส่วนสื่อ/อุปกรณ์ประเภทใดที่ใช้ประกอบในการจัดการเรียนการสอนมากที่สุด ได้แก่ โปรแกรมนำเสนอ เช่น PowerPoint (ร้อยละ88.41) มีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนในลักษณะให้ส่งการบ้านหรือรายงานผ่าน

ช่องทางต่างๆ เช่น E-mail  (ร้อยละ 43.48) ในส่วนของ  E-learning  มหาวิทยาลัยหรือคณะมีการซื้อหรือพัฒนาระบบ E-learning กลางเพื่อให้แต่ละคณะนำไปใช้ (ร้อยละ 52.17) แต่ยังไม่มีการนำ E-learning มาใช้ในวิชาใดเลย (ร้อยละ 46.38) ส่วนปัญหาส่วนใหญ่ที่เป็นอุปสรรคด้านสื่อและทรัพยากรการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน คือ ขาดแคลนบุคลากรที่สามารถสนับสนุนการผลิตสื่อให้กับอาจารย์ (ร้อยละ 71.01)

8.1.6 สภาพปัจจุบันด้านการวัดและประเมินผล พบว่าส่วนใหญ่แล้ว การประเมินผลการเรียน ผู้สอนให้ความสำคัญกับความสนใจ และการมีส่วนร่วมในการเรียน (ร้อยละ 47.83) โดยจุดมุ่งหมายในรายวิชาที่สอน ส่วนใหญ่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ]ในระดับเข้าใจ (ผู้เรียนสามารถอธิบายความคิดหรือความคิดรวบยอดได้) (ร้อยละ 84.06) ซึ่งในการประเมิน นอกจากผู้สอนเองแล้วยังมีการให้ผู้เรียนประเมินตนเอง (ร้อยละ 59.42) ส่วนปัญหาส่วนใหญ่ที่เป็นอุปสรรคด้านการวัดและประเมินผล คือ ผู้เรียนขาดทักษะในการเขียน ทำให้ตอบข้อสอบอัตนัยไม่ค่อยได้ (ร้อยละ 78.26)

8.1.7 ผลการสัมภาษณ์ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และการสำรวจความคิดเห็นจากคณาจารย์สาขาเกษตรศาสตร์ จำนวน 69 คน ภายในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย จำนวน 13 แห่ง เกี่ยวกับการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน ยกเว้นบางประเด็นที่มีความขัดแย้งกันเล็กน้อย ได้แก่ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปี ใดที่เหมาะสมต่อการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ระบุว่า สามารถจัดการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็ นหลักได้กับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกชั้นปี ในขณะที่คณาจารย์

สาขาเกษตรศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรเป็นชั้นปีที่ 4 และ 3 ตามลำดับ อีกประเด็นคือ ลักษณะของการแบ่งกลุ่มผู้เรียนควรเป็นอย่างไร ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ระบุว่า ผู้สอนควรแบ่งกลุ่มโดยคละความสามารถในการเรียนของผู้เรียน ในกลุ่มควรมีนิสิตที่เก่ง ปานกลาง และอ่อน (อาจใช้ GPA เป็นตัวกำหนด) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และน่าจะร่วมกับองค์ประกอบอื่นด้วยนอกจากความเก่งหรืออ่อน ในขณะที่คณาจารย์สาขาเกษตรศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นว่า การแบ่งกลุ่มควรคละกันโดยไม่ต้องมีเงื่อนไขโดยให้ผู้เรียนจัดกลุ่มกันเอง ซึ่งในประเด็นที่เหมือนและต่างกันนี้ ผู้วิจัยได้นำมาวิเคราะห์ร่วมกับหลักการและแนวคิดจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสังเคราะห์เป็นหลักการที่เกี่ยวข้องในขั0นตอนต่อไป

8.2. ผลการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียในการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา จำนวน 6 คน พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่า เครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียในภาพรวมมีความเหมาะสม และได้ให้ข้อเสนอแนะในการใช้งาน ซึ่งผู้วิจัยได้นำไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไขหลักการและแนวคิดให้มีความสมบูรณ์ขึ้น

9.ข้อเสนอแนะ

9.1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้

9.1.1 จากผลการวิจัยที่พบว่า คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ที่เรียนผ่านรูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียสูงขึ้นทุกด้านยกเว้นคะแนนในส่วนของความสามารถในการระบุปัญหานั้น หากนิสิตนักศึกษาได้รับโจทย์สถานการณ์ปัญหาที่มากขึ้น และอาจารย์ผู้สอนสร้างเงื่อนไขไม่ให้นิสิตนักศึกษาใช้กระดาษในการสร้างผังความคิด เชื่อว่าน่าจะทำให้คะแนนความสามารถในการระบุปัญหาสูงขึ้นเนื่องจากการใช้โปรแกรมผังความคิดจะช่วยนิสิตนักศึกษาสร้างและปรับปรุงแก้ไขผังความคิดได้ง่ายขึ้น ซึ่งทำให้มีเวลาในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหามากขึ้นกว่าการเขียนลงในกระดาษ

9.1.2 การนำรูปแบบการเรียนที่พัฒนาขึ้นไปใช้งานนั้น ปัจจัยด้านผู้เรียนโดยเฉพาะในขั้นการเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์นับเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำ ไปสู่ความสำเร็จในการเรียน อาจารย์ผู้สอนควรจะสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายของการเรียน ขั้นตอนและวิธีการเรียน รวมทั้งเทคนิคหรือวิธีการในการปฏิบัติงานและโดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการใช้เครื่องมือทางปัญญาให้กับนิสิตนักศึกษาก่อนที่จะเริ่มกิจกรรมในขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้มองเห็นและเข้าใจแนวทางในการเรียนและมีพื้นฐานการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อสนับสนุนกระบวนการเรียนของตนเองได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนที่ไม่เข้าใจกระบวนการเรียนการสอนจะไม่สามารถกำกับตนเองในการเรียนให้ประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกับเครื่องมือต่างๆ ที่แม้จะมีการออกแบบมาเป็นอย่างดีแต่หากนิสิตนักศึกษาไม่มีทักษะในการใช้งาน เครื่องมือเหล่านั้นก็ไม่สามารถทำหน้าที่สนับสนุนกระบวนการคิดแก้ปัญหาให้กับนิสิตนักศึกษาได้อย่างที่ควรจะเป็น

9.2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

9.2.1 ควรมีการศึกษาว่ารูปแบบการเรียนที่พัฒนาขึ้นนั้น ส่งผลต่อผู้เรียนที่มีลักษณะ(Characteristics) หรือรูปแบบการเรียน (Leaning Styles) ที่แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น

9.2.2 ควรมีการศึกษาแนวทางในการนำรูปแบบการเรียนที่พัฒนาขึ้นไปใช้เพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการคิดในด้านอื่นๆ เช่น การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) เป็นต้น และการใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนผลต่อการเสริมสร้างทักษะและกระบวนการคิดเหล่านั้นให้สูงขึ้นหรือไม่

9.2.3 ควรมีการศึกษาแนวทางการใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อสนับสนุนรูปแบบการเรียนการสอนอื่นๆ ที่มีความใกล้เคียงและน่าสนใจ เช่น การเรียนแบบโครงงาน (Project–based Learning) การเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research-based Learning) เป็นต้น เนื่องจากยังมีรูปแบบการเรียนอีกมากมายที่มุ่งส่งเสริมทักษะและกระบวนการคิด ซึ่งหากมีการเลือกใช้เครื่องมือสนับสนุนที่เหมาะสมแล้ว ย่อมทำให้รูปแบบการเรียนเหล่านั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

9.2.4 ควรมีการศึกษาแนวทางการใช้เครื่องมือทางปัญญาในรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ทั้งหมด โดยไม่ต้องจัดกิจกรรมภายในห้องเรียน เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันน่าจะสามารถรองรับกิจกรรมต่างๆ ได้ เพียงแต่ต้องออกแบบให้เหมาะสมกับการเรียนการสอนสาขาเกษตรศาสตร์ ซึ่งแนวทางนั้นยังจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการศึกษาโดยเฉพาะคณาจารย์สาขาเกษตรศาสตร์ที่ยังมีความขาดแคลนอยู่ในบางสาขา

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

สรุปงานวิจัยโดย  นายวีร์สานต์  มีมูซอ  5614652698

สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

Did you like this? Share it: