Archive

Archive for the ‘Uncategorized’ Category

สรุปงานวิจัย : The Degree of Effectiveness of CAI with Sixth Grade Students Found to be at the Frustrational Level in Multiplication and Division Computation

July 11th, 2013 wipawadee No comments

สรุปงานวิจัยต่างประเทศ

1. ชื่อสถาบัน University of Cincinnati (อเมริกา)

2. ชื่อเรื่อง The Degree of Effectiveness of CAI with Sixth Grade Students Found to be at the Frustrational Level in Multiplication and Division Computation (2010)

ความมีประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในการแก้ปัญหาเรื่องการคูณและการคำนวณ

3. ชื่อผู้วิจัย Carrie Elizabeth Bunger

4. วัตถุประสงค์ 1. พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้มีประสิทธิภาพ 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและการเรียนแบบปกติ

5 ขอบเขตการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

6. ระเบียบวิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง

7. ผลการวิจัย

1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการเรียนที่มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนแบบห้องเรียนปกติ

2. ผลการพัฒนาบทเรียนเรียนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

8. ข้อเสนอแนะ ควรพัฒนารูปแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้มีความหลากหลาย

นางสาววิภาวดี   ประเสริฐศรี

รหัสนักศึกษา 5614650946

สาขาเทคโนโลยีการศึกษา (ภาคพิเศษ)

รายงานสรุปเป็นส่วนหนึ่งของวิชา 01169591 ระเบียบวิธีวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา(Research Method in Educational Technology) รศ.ดร.สาโรช โศภีรักข์

Did you like this? Share it:
Categories: Uncategorized Tags:

แปล สรุปงานวิจัยเรื่อง ผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในชั้นเรียน

July 11th, 2013 naphaphat No comments

เรื่อง ผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในชั้นเรียน

โดย

Rebecca Righi

เสนอบัณฑิตวิทยาลัย เป็นส่วนหนึ่งของวิชาบังคับ หลักสูตรปริญญาโทคณะศึกษาศาสตร์ สาขาการจัดการศึกษา มหาวิทยาลัย Toledo

พฤษภาคม 2555

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือการพิจารณาผลกระทบของคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในชั้นเรียน ที่มีนักเรียนและครูใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปได้ตลอด24ชั่วโมงวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีข้อมูลที่ไปประกอบไปด้วย การสังเกตห้องเรียนความคิดเห็นของครู แผนการสอน และการสัมภาษณ์ในเชิงลึกกับครู5คน ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเครื่องคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปมีผลในเชิงบวกต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ที่ผลิตงานที่มีคุณภาพและมีการสื่อสารที่ดีขึ้นระหว่างครูกับนักเรียน เมื่อนักเรียนมีการเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ชี้ให้เห็นว่านักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้นเพราะการเรียนรู้ส่วนบุคคลของแต่ละคนสามารถเข้าถึงวัสดุ อุปกรณ์สื่อได้หลากหลายช่องทาง และคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปก็เป็นเทคโนโลยีทีสามารถอำนวยความสะดวกให้กับการศึกษาได้

ระเบียบการวิจัย

วัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยในเชิง คุณภาพ ครั้งนี้เป็นการตรวจสอบผลกระทบของคอมพิวเตอร์แลปท็อปในการศึกษาหาความรู้โดยครูในห้องเรียน โดยเฉพาะการศึกษาครั้งนี้พิจารณาผลกระทบที่จะมีการเข้าใช้งานแบบไม่จำกัดของคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปต่อพฤติกรรมการเรียนการสอน สำหรับข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากการศึกษาวิจัยนี้มีข้อมูลซ้ำกันจากการศึกษาที่ นักวิจัยร่วม – วิจัยหัวข้อ “ผลกระทบของเทคโนโลยีในการเรียนการสอนวิชาครู”จากการสำรวจพบว่า การศึกษาโดยใช้คอมพิวเตอร์แลปท็อปมีผลกระทบกับพฤติกรรมการเรียนการสอนของนักเรียน

จากการศึกษาวิจัยในเชิง คุณภาพนี้คำถามการวิจัยจะต้องเกี่ยวกับการเปิดให้บริการ และ ทิศทางในการพัฒนา เพราะคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปอำนวยความสะดวกให้กับทุกประเภทในการเรียนรู้และการวิเคราะห์โลกในปัจจุบันนี้ต้องการผ่านการใช้คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปนักเรียนจึงจะเข้าถึงข้อมูลและมีความหลากหลายของการวิเคราะห์ การวิจารณ์ และงานด้านข้อมูลต่างๆ  ดังนั้นการศึกษาการวิจัยครั้งนี้จึงจัดให้บริการความรู้ความเข้าใจในขนาดเล็กแต่ที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แลปท็อป ซึ่งผลการวิจัยนี้มีศักยภาพเพียงพอที่จะช่วยในการปรับปรุงการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน ครู รวมไปถึงเทคโนโลยีที่เกียวข้อง และคอมพิวเตอร์แลปท็อปที่ใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน

การสังเกตการณ์ในห้องเรียน การสัมภาษณ์ และการตรวจสอบเอกสาร การศึกษาวิจัยในเชิง คุณภาพ เรื่องนี้มีหลักฐานว่ามีการทำใช้คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปในการเรียนการสอนมีผลในเชิงบวกต่อพฤติกรรมการเรียนการสอนนักเรียน

ผลการวิจัย

การใช้งานคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปในแต่ละวันส่งผลกระทบต่อนักศึกษาในการเรียนรู้เป็นไปในลักษณะเชิงบวก และครูสามารถประหยัดเวลาในการเตรียมการสอนได้จากการใช้คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป และการเรียนของนักเรียนก็เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เมื่อมีการเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปครูจากการที่เป็นผู้บรรยายหน้าห้องเรียนแบบเดิมจะเปลี่ยนหน้าที่มาเป็นเสมือนวิทยากร หรือ พี่เลี้ยงในการเรียนการสอน ซึ่งห้องเรียนที่มีการใช้คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปในการเรียนการสอนส่งผลให้นักเรียนและครูผู้สอนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกันในการเรียนรู้ และการทำงาน ไปพร้อมกัน ทำให้เกิดประสิทธิภาพ ความผูกพันธ์ลึกซึ้ง และมีการสื่อสารที่ดีขึ้นไปพร้อมกัน

ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยนี้คือ

ผลจากการศึกษาวิจัยนี้ไม่สามารถนำไปสู่ความหลากหลายของทิศทางได้ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะทำการสัมภาษณ์ ว่านักเรียนมีความคิดเห็นและมีทัศนคติอย่างไรบาง อย่างไรก็ตามการสื่อสารและการเรียนรู้ของครูอาจารย์มีการเปลี่ยนแปลงการศึกษาที่ขนาดใหญ่กว้างขวางกว่าจึงไม่สามารถเปรียบเทียบผลกระทบของคอมพิวเตอร์แล้ปท็อปกับพฤติกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษาในพื้นที่ได้ และโรงเรียนขั้นพื้นฐานไม่สามารถตรวจสอบที่จะขยายขอบเขตการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ในลักษณะการทำงานในขณะที่นักเรียนจะได้รับการแนะนำและสอนวิธีการในการใช้คอมพิวเตอร์แล้ปท็อปซึ่งคอมพิวเตอร์แล้ปท็อปที่มีอยู่ในห้องเรียนมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ครูใช้สอนแก่นักเรียน ซึ่งคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปเป็นเครื่องมือการเรียนรู้อเนกประสงค์ที่ให้บริการเป็นแหล่งที่มาการเรียนรู้ใหม่มากมายและสามารถทำให้การเรียนรู้โดยตรงอยู่ในมือของนักศึกษา

ผลการวิจัยเบื้องต้นของการศึกษาในครั้งนี้พบว่า สิ่งที่น่าสนใจคือการเพิ่มขึ้นของการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

นางสาว นภาพัชร แสนสุข

รหัส 5614652591

Did you like this? Share it:
Categories: Uncategorized Tags:

สรุปงานวิจัยเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบในร่างกายสำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสวนแตงวิทยา

July 11th, 2013 naphaphat No comments

วิทยานิพนธ์

มหาวิทยาลัย ศิลปกร

เรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบในร่างกายสำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสวนแตงวิทยา จังหวังสุพรรณบุรี ปีการศึกษษ 2553

ชื่อผู้แต่ง วาสนา  ทองดี

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบร่างกาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 โรงเรียนสวนแตงวิทยาให้มีประสิทธิภาพ

2.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 โรงเรียนสวนแตงวิทยา ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบในร่างกาย ก่อนและหลังเรียน

3.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 โรงเรียนสวนแตงวิทยาที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบในร่างกาย

ขอบเขตของการวิจัย

1.  ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสวนแตงวิทยาปีการศึกษา 2553  จํานวน 5  ห้อง นักเรียน  181  คน

2.  กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนสวนแตงวิทยา ได้จากการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มยกชั้น (Cluster  sampling)   มา   1  ห้องเรียน จํานวน 41 คน

3.  ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรต้น (Independent Variables) ได้แก่การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ระบบในร่างกาย

ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ระบบในร่างกาย  และ ความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบในร่างกาย

ระเบียบวิธีการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research  and  Development)  ผู้วิจัยได้กําหนดรูปแบบการวิจัยโดยใช้การวิจัยแบบ  One  Group  Pretest – Posttest  Design  (ล้วน  สายยศ  และ อังคณา  สายยศ  2538  :  249)    คือการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนโดยมีการทดสอบก่อนเรียน (Pretest)  จากนั้นให้นักเรียนเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  แล้วจึงทําแบบทดสอบ หลังเรียน (Posttest)  (พวงรัตน์ ทวีรัตน์ 2543:82) มีรูปแบบการวิจัยดังตาราง

ตารางที่ 5  แสดงแผนการทดลองแบบ One  Group  Pretest – Posttest  Design

กลุ่ม ทดสอบก่อนเรียน ทดลอง ทดสอบหลังเรียน

RE

O1

X

O2

R  หมายถึง   การกําหนดกลุ่มตัวอย่างการสุ่มยกชั้น (Cluster sampling)

E  หมายถึง  กลุ่มทดลอง (Experimental  Group)

O1  หมายถึง  การทดสอบก่อนทําการทดลอง (Pre-Test)

O2  หมายถึง  การทดสอบหลังการทดลอง (Post-Test)

ผลการวิจัย

การวิจัยเรื่อง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบในร่างกาย สําหรับนักเรียน ชั้น มัธยมศึกษา   ปีที่ 2 โรงเรียนสวนแตงวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

1.  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบในร่างกาย สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โรงเรียนสวนแตงวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 76.26/78.66  ซึ่งมีค่าผ่าน เกณฑ์ของการหาประสิทธิภาพที่ได้กําหนดไว้ คือ 75/75

2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบในร่างกาย  สําหรับนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสวนแตงวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี คะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเท่ากับ 26.42  นําไปเปรียบเทียบกับค่า t  ที่ df (41-1)=40 มีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05

3.  ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบในร่างกาย

สําหรับนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนสวนแตงวิทยา  อยู่ในระดับ ดี เป็นไปตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้ มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยภาพรวม (X̅ = 4.43 , S.D = 0.63)

ข้อเสนอแนะ

จากการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสําหรับ การเรียนการสอนที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการทําวิจัยครั้งต่อไป ดังนี้

ข้อเสนอแนะทั่วไป

1.  ผู้เรียนควรมีพื้นฐานคอมพิวเตอร์ก่อนการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หากผู้เรียนมีพื้นฐานทักษะการใช้คอมพิวเตอร์น้อยควรมีการแนะนําผู้เรียน และฝึกทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นให้กับผู้เรียนก่อน เช่น การใช้เมาส์ การใช้แป้นพิมพ์  เนื่องจากการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้เรียนจะต้องศึกษาจากบทเรียนด้วยตนเอง และต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในหลายลักษณะ และเพื่อป้องกันการผิดพลาดในการคลิก หรือ การพิมพ์

นอกจากนั้นผู้สอนควรแนะนําวิธีการใช้บทเรียน

2.  การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนห้องอื่น ๆ ได้ศึกษาและเรียนรู้ตามความสนใจ นอกจากนี้ยังสามารถ นํามาใช้ในการสอนซ่อมเสริมกับนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในรายวิชาต่าง ๆ

3.  ควรให้ผู้เรียนระดับปานกลางหรืออ่อน มีเวลาที่จะศึกษาเนื้อหามากขึ้น

4.  ให้ผู้เรียนนําบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปศึกษาด้วยตนเอง

5.  ควรนําบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง  ระบบในร่างกาย  ไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต  เพราะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน  นักศึกษา และ  บุคคลทั่วไป  และสามารถเรียนได้ทุกสถานที่  ทุกเวลาที่ต้องการ

6.  โรงเรียนควรจัดให้มีหูฟัง ติดอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อบริการนักเรียน เพราะปัจจุบันมีสื่อที่โต้ตอบกับนักเรียนด้วยการฟังเสียง ซึ่งจะมีผลดีคือ ทําให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และไม่รบกวนผู้อื่นในขณะเรียน

ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยครั้งต่อไป

1.  ควรมีการวิจัยและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาวิทยาศาสตร์ ในเนื้อหาอื่น ๆ  หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

2.  ควรมีการวิจัยและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาวิทยาศาสตร์   คู่กับวิธีการสอนรูปแบบอื่นๆ

น.ส. นภาพัชร  แสนสุข

รหัส 5614652591

Did you like this? Share it:
Categories: Uncategorized Tags:

สรุปงานวิจัยเรื่อง Student Support for Academic Success in a Blended, Video and Web-Based, Distance Education Program: The Distance Learner’s Perspective/2003

July 11th, 2013 uthumporn No comments

1) สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยซินซินแนติ รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา

2) ชื่อวิทยานิพนธ์/พ.ศ. Student Support for Academic Success in a Blended, Video and Web-Based,

Distance Education Program: The Distance Learner’s Perspective/2003

การสนับสนุนนักศึกษาเพื่อความสำเร็จทางวิชาการในสื่อผสม, วิดีโอและบนเว็บของหลักสูตรการศึกษาทางไกล : มุมมองของผู้เรียนทางไกล

3) ชื่อผู้เขียน Melody Sellet Clark

4) วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้คือ มุ่งศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการ ของนักศึกษาผู้ใหญ่ที่ศึกษาทางไกลในโปรแกรมสังคมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย   (ECLC) ในเรื่องการให้บริการจากสถาบันและการให้ความช่วยเหลือเพื่อการส่งเสริมความสำเร็จของนักศึกษาภายใต้สภาพแวดล้อมของการศึกษาทางไกล

โดยมีคำถามการวิจัย ดังนี้

1. ในปัจจุบันนักศึกษาทางไกลได้รับการบริการและได้รับความช่วยเหลืออะไรบ้าง? จากทางสถาบัน

2. การบริการและความช่วยเหลืออะไร? ที่จะช่วยทำให้การศึกษาทางไกลประสบผลสำเร็จมากที่สุด

3. นักศึกษาต้องการการบริการและความช่วยเหลือในขั้นตอนใดบ้าง? สำหรับการศึกษาทางไกล

4. ข้อแนะนำที่ต้องการให้เกิดการปรับปรุงการให้บริการและการให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการศึกษาทางไกล

5. ความต้องการของผู้เรียนทางไกลเกี่ยวกับการให้บริการ เปรียบเทียบกับการทบทวนวรรณกรรมเป็นอย่างไรบ้าง?

5) ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ ใช้ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาทางไกลโปรแกรมสังคมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย (ECLC) จำนวน 64 คน แบ่งขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูลออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ประกอบไปด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับตัวแทนสถาบัน/โปรแกรม4 แห่ง และทบทวนเอกสารต่างๆ ของทางสถาบันเกี่ยวกับการให้บริการและการให้ความช่วยเหลือกับนักศึกษาทางไกลโปรแกรมสังคมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย (ECLC)

ขั้นตอนที่ 2 แบบสอบถามจะถูกส่งไปยังนักศึกษาทุกคนในโปรแกรมการศึกษาทางไกลเพื่อสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะของนักศึกษา, สถานการณ์ชีวิต, ประสบการณ์ในการศึกษาทางไกล และการประเมินจากประสบการณ์ของนักศึกษาที่ได้รับความช่วยเหลือจากทางสถาบัน

ขั้นตอนที่ 3 ประกอบไปด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กจำนวน 8 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาทางไกลโปรแกรมสังคมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย (ECLC) ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการและการให้ความช่วยเหลือจากทางสถาบัน

6) ผลการวิจัย ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ตามคำถามการวิจัย ดังนี้

คำถามการวิจัยข้อที่ 1 ในปัจจุบันนักศึกษาทางไกลได้รับการบริการและได้รับความช่วยเหลืออะไรบ้าง? จากทางสถาบัน

ผลการวิจัยพบว่า การบริการและการให้ความช่วยเหลือที่ทางสถาบันได้จัดให้กับนักศึกษาทางไกลนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการรับสมัครและการลงทะเบียน, ด้านการสนับสนุนทางวิชาการ, ด้านวัสดุและอุปกรณ์ทางการศึกษา, ด้านการพัฒนาชุมชน, ด้านการบริการทางการเงิน และด้านการสนับสนุนทางเทคนิค

คำถามการวิจัยข้อที่ 2 การบริการและความช่วยเหลืออะไร? ที่จะช่วยทำให้การศึกษาทางไกลประสบผลสำเร็จมากที่สุด

ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาโดยส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้การเรียนผ่านการศึกษาทางไกลประสบความสำเร็จคือ การให้บริการจากทางสถาบัน เช่น การจัดหาข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมการศึกษาทางไกลหรือข้อมูลด้านข้อกำหนดทางเทคนิค การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกหลักสูตร ความช่วยเหลือในเรื่องการลงทะเบียนเรียนหรือการสมัครเรียน และการอบรมเกี่ยวรูปแบบการศึกษาทางไกล เป็นต้น สาเหตุเนื่องจากข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและการเตรียมความพร้อมด้านการเรียน นอกจากนี้ ควรจะมีบุคคลที่เป็นศูนย์กลางในการให้ความช่วยเหลือและให้ข้อมูลแก่นักศึกษาอีกด้วย

คำถามการวิจัยข้อที่ 3 นักศึกษาต้องการการบริการและความช่วยเหลือในขั้นตอนใดบ้าง? สำหรับการศึกษาทางไกล

ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนมากอยากให้มีการบริการเพื่อส่งเสริมการรับรู้และให้ความช่วยเหลือในเรื่องของการลงทะเบียนเรียน ก่อนที่จะเปิดลงทะเบียนหรือเริ่มเรียนในโปรแกรมการศึกษาทางไกล นอกจากนี้นักศึกษาหลายคนยังตั้งข้อสังเกตว่าการให้ความช่วยเหลือ เช่น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกหลักสูตรและบุคคลที่เป็นศูนย์กลางในการให้ความช่วยเหลือและให้ข้อมูลแก่นักศึกษา เป็นสิ่งที่จำเป็นตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงจบหลักสูตรการศึกษาทางไกล

คำถามการวิจัยข้อที่ 4 ข้อแนะนำที่ต้องการให้เกิดการปรับปรุงการให้บริการและการให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการศึกษาทางไกล

ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาต้องการให้เกิดการปรับปรุงในเรื่องการเข้าถึงข้อมูล โดยต้องการให้เข้าถึงข้อมูลได้ด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง รวมไปถึงต้องการให้มีเจ้าหน้าที่/บุคลากรคอยให้ความช่วยเหลือรายบุคคล ซึ่งข้อมูลที่นักศึกษาต้องการมักจะมุ่งเน้นไปที่กิจกรรมการสนับสนุนด้านวิชาการ การรับสมัครและการลงทะเบียน อุปกรณ์ทางการศึกษา และความช่วยเหลือทางด้านการเงิน รวมไปถึงหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถโทรฟรีเพื่อให้สามารถติดต่อกับอาจารย์ผู้สอน, ข้อมูลที่สอดคล้องกันระหว่างวิดีโอและอาจารย์ผู้สอนทางออนไลน์,ระบบสำรองสำหรับการส่งงานรายวิชา และโครงสร้างโทรศัพท์เพื่อให้เข้าถึงเจ้าหน้าที่ได้ง่ายยิ่งขึ้น

คำถามการวิจัยข้อที่ 5 ความต้องการของผู้เรียนทางไกลเกี่ยวกับการให้บริการ เปรียบเทียบกับการทบทวนวรรณกรรมเป็นอย่างไรบ้าง?

ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการของผู้เรียนทางไกลเกี่ยวกับการให้บริการ ไม่ได้แตกต่างกับข้อมูลที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาก็จะพบถึงความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการส่วนบุคคลของผู้เรียน

7) ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้

เนื่องจากนักศึกษาในโปรแกรมการศึกษาทางไกล มีความหลากหลายในหลักสูตรการศึกษา จึงส่งผลทำให้มีความต้องการการสนับสนุนที่แตกต่างกันออก ดังนั้นในอนาคตจึงควรมีการศึกษาเปรียบเทียบในเรื่องการให้สนับสนุนและการให้ความช่วยเหลือนักศึกษาทุกหลักสูตรของการศึกษาทางไกล ซึ่งจะช่วยในการระบุความต้องการการสนับสนุนที่คล้ายคลึงกันและสามารถนำไปปรับให้เข้ากับแนวทางของสถาบันในโปรแกรมการศึกษาทางไกล   และถึงแม้ว่าการศึกษาทางไกลจะพัฒนาขึ้นจากบริบทของสถาบัน แต่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องนั้นจำเป็นต้องใช้การวางแผนและการตัดสินใจจากผลการประเมินระบบการศึกษาทางไกล โดยประเมินผ่านทางความคิดเห็นของผู้เรียน และให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของความคิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ         

***********************

สรุปงานวิจัยโดย

นางสาวอุทุมพร  มุ่งดี 5614651047

สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

Did you like this? Share it:
Categories: Uncategorized Tags:

สรุปการวิเคราะห์ผลงานวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา

July 11th, 2013 uthumporn No comments

1) สถาบัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2) ชื่อวิทยานิพนธ์/พ.ศ. ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้

ด้วยตนเองกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา

ปีการศึกษา 2551

3) ชื่อเขียน นางสาวปาลิดา สายรัตทอง

4) วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการจัดเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่                                                                             การศึกษาสุรินทร์ เขต 1

2. เพื่อศึกษาการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1

3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้                                                                      ด้วยตนเองกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1

5) ขอบเขตของการวิจัย 1. ประชากร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนประถมศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำนวน 8,877 คน

2. ตัวแปรที่ศึกษา

2.1 ตัวแปรอิสระ           การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง

2.2 ตัวแปรตาม              การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา

6) ระเบียบวิธีวิจัย               (ไฟล์แนบ)

7) ผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. ผลการวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 พบว่า ระดับการปฏิบัติของครูในการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองในภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน ได้ผลดังนี้

1.1 ระดับการปฏิบัติด้านการเตรียมการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของครูอยู่ในระดับมาก

1.2 ระดับการปฏิบัติด้านการสร้างบรรยากาศอยู่ในระดับมาก

1.3 ระดับการปฏิบัติด้านการส่งเสริมการวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้และการวาง                                     แผนการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง

1.4 ระดับการปฏิบัติด้านการส่งเสริมการดำเนินการเรียนรู้และการประเมินความก้าวหน้าอยู่ใน                                         ระดับมาก

1.5 ระดับการปฏิบัติด้านการส่งเสริมการประเมินผลอยู่ในระดับมาก

1.6 ระดับการปฏิบัติด้านบทบาทโดยรวมอื่นๆของครูอยู่ในระดับมาก

2. ผลการวิเคราะห์การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 พบว่า ระดับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนในภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้าน ได้ผลดังนี้

2.1 ระดับการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการตระหนักเกี่ยวกับตนเองและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเรียนอยู่ใน                                  ระดับปานกลาง

2.2 ระดับการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการวางแผนการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง

2.3 ระดับการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการปฏิบัติการตามแผนให้บรรลุจุดหมายอยู่ในระดับปานกลาง

2.4 ระดับการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการควบคุมการจูงใจตนเองให้ปฏิบัติการเรียนรู้บรรลุจุดหมาย                       อยู่ในระดับมาก

2.5 ระดับการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการประเมินความก้าวหน้าอยู่ในระดับปานกลาง

2.6 ระดับการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการปรับปรุงแก้ไขอยู่ในระดับปานกลาง

2.7 ระดับการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองอยู่ในระดับปานกลาง

3. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 พบว่า การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองไม่มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยรวมของนักเรียนระดับประถมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ .073 และเมื่อแยกพิจารณาการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษาเป็นรายด้าน พบว่า การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองมีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการปรับปรุงแก้ไข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ .101

8) ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลวิจัยไปใช้

ผลการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่ครู ผู้บริหาร และบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการ ศึกษาทุกฝ่ายควรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองให้กับนักเรียน ถึงแม้ผลการวิจัยจะพบว่าครูมีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณาผลการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนกลับพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าครูควรดำเนินงานอย่างจริงจังและจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนให้มากขึ้นไปอีก เพราะการจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับการเรียนรู้ของตนเอง เน้นให้นักเรียนคิดและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีต่อนักเรียนหลายด้าน เช่น มีกระบวนการเรียนรู้ที่ดีขึ้น จดจำได้มากขึ้น สนใจในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และมั่นใจในความสามารถเรียนรู้ของตนเองมากขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มตั้งแต่การวางนโยบายและแผนงานการจัดการเรียนการสอนของผู้บริหารและการจัดการเรียนการสอนของครูเอง

2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไป

1. ควรมีการศึกษาวิจัยถึงความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น

2. ควรมีการศึกษาตัวแปรอื่นๆ ที่คาดว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน

***********************

สรุปงานวิจัยโดย

นางสาวอุทุมพร  มุ่งดี 5614651047

สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

Did you like this? Share it:
Categories: Uncategorized Tags:

COMPUTER TECHNOLOGY COMPETENCIES PERCEIVED AS NEEDED BY VOCATIONAL AND TECHNICAL TEACHERS IN MALAYSIA (สมรรถภาพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ตามทัศนะที่จำเป็นโดยครูอาชีวะและครูเทคนิคในประเทศมาเลเซีย)

July 10th, 2013 krupooworrawan No comments
  1. 1. สถาบัน

The Ohio State University (มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต)

  1. 2. ชื่องานวิจัย

COMPUTER TECHNOLOGY COMPETENCIES PERCEIVED AS NEEDED BY

VOCATIONAL AND TECHNICAL TEACHERS IN MALAYSIA (สมรรถภาพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ตามทัศนะที่จำเป็นโดยครูอาชีวะและครูเทคนิคในประเทศมาเลเซีย)

  1. 3. ปีที่จัดพิมพ์

2005 (ปีการศึกษา 2548)

  1. 4. ผู้วิจัย

M.S Muhammad Sukri Saud

  1. 5. วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจและอธิบายความสามารถการรับรู้, ความสำคัญและความต้องการในการศึกษาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในหมู่ครูอาชีวศึกษาและครูเทคนิคในประเทศมาเลเซีย

  1. 6. ขอบเขตของการวิจัย

กลุ่มประชากรตัวอย่าง

ครูอาชีวะจำนวน 9 โรงเรียน

ครูเทคนิคจำนวน 84 โรงเรียน

  1. 7. ระเบียบวิธีวิจัย

7.1  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ

7.2  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการวัดความสำคัญสมรรถภาพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์, แบบสอบถามการวัดความถี่ในการฝึกอบรมสมรรถภาพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

7.3  วิธีการดำเนินการวิจัย มีการส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม

7.4  การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล วัดได้จากการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ในด้านต่างๆ

  1. 8. ผลการวิจัย

ผลจากการสำรวจพบว่าครูอาชีวศึกษา และครูเทคนิคในประเทศมาเลเซีย ร้อยละ 56 มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญในการศึกษาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

  1. 9. ข้อเสนอแนะ

รัฐบาลและผู้บริหารโรงเรียนควรจัดให้มีการส่งเสริมและพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ให้กับครูทั้งระบบ

นางสาววรวรรณ แซ่ซิ้ม

รหัสประจำตัว 5614652671

สาขา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (ภาคพิเศษ)

Did you like this? Share it:
Categories: Uncategorized Tags:

Welcome to Edtech Blogs

February 21st, 2013 admin No comments
  • บล็อกนี้เป็นของภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นสนามให้นิสิตและอาจารย์ได้ใช้ในการบันทึกเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ความคิดเห็นของสมาชิก ที่ต้องการแลกเปลี่ยน เผยแพร่ให้กับสมาชิกในชุมชน Edtechblog ซึ่งเป็นเครือข่ายสังคมเชิงวิชาการ

    นิสิตสามารถลงทะเบียนได้อย่างง่ายๆ โดยเลือก Register ในหน้าแรก แล้วใส่ชื่อจริงของนิสิตในช่อง Username และที่อยู่อีเมล์ของท่านในเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในช่อง E-mail เสร็จแล้วจีงใส่ชื่อบล็อกของนิสิต โดยใส่ชื่อจริงนำหน้า ตามด้วยคำว่า Edtech Blog เช่น Sompong Edtech Blog โปรแกรมจะแจ้งให้ทราบว่าท่านได้สมัครสมาชิกได้สำเร็จแล้ว ให้ท่านไป เปิดอีเมล์ แล้วactivate Username และ Password หลังจากนั้นจึงเข้าไป Login เพื่อใช้บล็อกของตัวเองได้ โดยพิมพ์ในช่อง URL ว่า edtechblog.edu.ku.ac.th ก็จะสามารถเข้าไปปรับแต่งบล็อกและบันทึกข้อความในบทความได้
    admin

    Did you like this? Share it:
    Categories: Uncategorized Tags:
  • นิสิตที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเข้าใช้บล็อกให้ลงทะเบียนด่วน และเข้าไปบันทึกภายในวันที่ 28 กพ 56

    February 16th, 2013 admin No comments
    Did you like this? Share it:
    Categories: Uncategorized Tags:

    เว็บ Edtechblog.edu.ku.ac.th มีปัญหาด้านระบบ Sever

    January 26th, 2013 admin No comments

    เนื่องจากเว็บ Edtechblog.edu.ku.ac.th ของภาควิชามีปัญหาเรื่องระบบ Sever ทำให้ข้อมูลบางส่วนในเว็บหายไป ให้นิสิตที่สร้าง Webblog ของตนเอง ตรวจสอบข้อมูล Webblog ของตนเองว่ามีส่วนไหนหายไปบ้างและให้เพิ่มข้อมูลเข้าไปใหม่ค่ะ

    Did you like this? Share it:
    Categories: Uncategorized Tags:

    ลงใต้สู่สงขลาหาดสมิหราและเยือนเกาะปีนังมาเลเซีย

    January 17th, 2013 admin No comments
    คณะนิสิตและอาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา Techno-KU Team

    คณะนิสิตและอาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา ม.เกษตรศาสตร์ร่วมประชุมในงานโสต-เทคโนสัมพันธ์ ครั้งที่ 27

    คณะอาจารย์และนิสิตร่วมงานโสตเทคโนสัมพันธ์ครั้งที่ 27 กันพร้อมหน้า เป็นที่สบายใจของเจ้าภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี เจ้าภาพจัดงานนี้เพื่อชาวโสตเทคโนฯจริง เมื่อวันพฤหัสที่ 10 มกราคม 2556 ที่โรงแรมบีพีสมิหรา สถานที่โอ่โถง เพื่อความปลอดภัยของผู้ร่วมงาน
    งานเริ่มตั้งแต่เช้า 8.30 น. โดย ศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ เสาหลักของพวกเราชาวเทคโน ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธี ตามด้วยการบรรยาย เรื่อง เหลียวหน้า แลหลัง เทคโนโลยีการศึกษา (ในประเทศไทย) ตามมาด้วย ผศ.ดร.ฐาปนีย์ ธรรมเมธา และ ผศ.ดร.ประวีณยา เรื่อง บูรณาการการจัดการศึกษาโดยใช้ทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Educational Resources) และการบรรยายในหัวข้อเทคโน การประยุกต์ Application เพื่อการศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรม
    ช่วงบ่ายมีกิจกรรมการสานสัมพันธ์ของนิสิตเทคโนทั่วประเทศ ขณะที่มีการประชุมสมาคมเทคโนโลยีการศึกษาแห่งประเทศไทยของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และประชุมเลือกผู้ที่จะรับเป็นเจ้าภาพจัดงานปีต่อไป โดยได้ มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นเจ้าภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพปีต่อๆไปตามลำดับ
    ช่วงเย็นงานเลี้ยง ที่มีชือว่า TechnoTonight หร่อยจังฮู้ เริ่มตั้งแต่ 18 นาฬิกา เจ้าภาพจัดการแสดงมาครบครัน และการแสดงบนเวทีของหลายมหาวิทยาลัย มีการประกวดดาวเดือน ซึ่งปีนี้จุฬา-บูรพา เอาไปครองเป็นปีแรก ทำลายสถิติม.เกษตรที่เคยเป็นผู้ชนะตลอดกาล ปิดท้ายรายการด้วยการมอบธงต่อให้มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นเจ้าภาพในสมัยต่อมา
    เช้าวันรุ่งขึ้น นิสิตอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ ประเทศมาเลเซีย เป็นเวลา 2 วัน (11-12 มค 56) และเดินทางกลับประเทศไทยโดยสวัสดิภาพ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2556
    ติดตามอ่านความรู้และประสบการณ์ของนิสิตในการไปร่วมงานโสตเทคโนสัมพันธ์และการไปทัศนศึกษาได้ที่ Edtechblog แห่งเดียวในโลก
    ช่วงเย็นมีงานเลี้ยง TechnoTonight หร่อยจังฮู้ มีการแสดงบนเวทีโดยเจ้าภาพ มอ.หลายรายการ ประกวดดาวเดือนเทคโน แลกของขวัญระหว่างมหาวิทยาลัย และพิธีรับมอบธงเป็นเจ้าภาพปีต่อไปให้กับ ม.บูรพา
    เช้าวันร่งขี้น นิสิตและอาจารย์มก. เดินทางไปดูงานที่ มหาวิทยาลัยไซน์ ณ เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย เป็นเวลา 2 วัน (11-12 มค 56) และเดินทางกลับถึงมก.โดยสวัสดิภาพ ในค่ำวันที่ 13 มค 56

    ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ประธานพิธีเปิดและบรรยาย เหลียวหน้าแลหลังเทคโนโลยีการศึกษานิสิตปริญญาเอกภาคพิเศษและภาคปกติงานเลี้ยงอาหารเย็น Tonight Techno หร่อยจังฮู้รำมะโนราห์ การแสดงบนเวทีนิสิตปริญญาโท และเอกร่วมงาน

    Did you like this? Share it: