Home > วิชาระเบียบวิธีวิจัยทางเทคโนฯและสื่อสารการศึกษา > การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการผ่านสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ด้วยวิธีเรียนแบบแข่งขันกับวิธีเรียนแบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการผ่านสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ด้วยวิธีเรียนแบบแข่งขันกับวิธีเรียนแบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

  1. 1. สถาบัน

มหาวิทยาลัยศิลปากร

  1. 2. ชื่องานวิจัย

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการผ่านสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ด้วยวิธีเรียนแบบแข่งขันกับวิธีเรียนแบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

  1. 3. ปีที่จัดพิมพ์

ปีการศึกษา 2551

  1. 4. ผู้วิจัย

นางสาววรรณี โคพิชัย

  1. 5. วัตถุประสงค์

5.1.        พัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ ชั้นมัธยมศึกษาที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพ

5.2.        เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยวิธีแบบแข่งขันกับวิธีแบบร่วมมือ ที่ได้รับการเรียนผ่านสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย

5.3.        ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่เรียนด้วยวิธีเรียนแบบแข่งขันและวิธีเรียนแบบร่วมมือ

  1. 6. ขอบเขตของการวิจัย

6.1      เนื้อหาในการวิจัยในครั้งนี้ ใช้เนื้อหาจากแบบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (ค31101) เรื่องสมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งมีเนื้อหาการเรียนการสอนตามที่ได้กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

6.2      กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนครนายกวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 60 คน จาก 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 30 คน โดยให้ห้องที่ 1 เป็นกลุ่มทดลองเรียนแบบแข่งขัน และห้องที่ 2 เป็นกลุ่มทดลองเรียนแบบร่วมมือ

  1. 7. ระเบียบวิธีวิจัย

7.1      การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research Design) โดยใช้รูปแบบ Randomized control-group posttest only design โดยมีกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม ทั้งสองกลุ่มมีจำนวนเท่ากัน คือกลุ่มละ 30 คน

7.2      เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย

7.3      วิธีการดำเนินการวิจัย มีการทดลองกับนักเรียน 2 กลุ่มโดยกลุ่มที่ 1 ใช้วิธีเรียนแบบแข่งขันผ่านสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย และกลุ่มที่ 2 เรียนด้วยวิธีเรียนแบบร่วมมือผ่านสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย

7.4      การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้

7.4.1                   หาค่าสถิติพื้นฐานของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ค่าเฉลี่ยของผลการเรียนรู้

7.4.2                   การวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา

7.4.3                   หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนน

7.4.4                   การหาค่าความยากง่าย (p)

7.4.5                   การหาค่าอำนาจจำแนก (r)

7.4.6                   การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสองวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

7.4.7                   การหาประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดีย

7.4.8                   ทดสอบความแตกต่างของคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

  1. 8. ผลการวิจัย

8.1      สื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย กลุ่มสาระการเรียนรุ้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 77.22/ 76.11 สูงกว่าเกณฑ์ 75/ 75

8.2      ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของกลุ่มที่เรียนโดยวิธีเรียนแบบร่วมมือผ่านสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่ากลุ่มที่เรียนโดยวิธีเรียนแบบแข่งขันผ่านสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

8.3      ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก

  1. 9. ข้อเสนอแนะ

9.1      ควรทดลองเปรียบเทียบวิธีสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือกัน กับวิธีสอนโดยการเรียนแบบอื่นๆ เช่น STAD jigsaw, Jigsaw II, Team GramesTournament, team Assisted Individualization เป็นต้น

9.2      ควรมีการศึกษาตัวแปรอื่นๆ นอกจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจต่อการเรียนแบบร่วมมือกัน เช่น ความรับผิดชอบ, ความภาคภูมิใจในตัวเอง เป็นต้น

9.3      ควรมีการวิจัยเพื่อศึกษาเกี่ยวกับตัวแปรด้านความคงทนในการเรียนรู้ทักษะที่สอนโดยการเรียนแบบร่วมมือกัน

Did you like this? Share it:
  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.