Home > วิชาระเบียบวิธีวิจัยทางเทคโนฯและสื่อสารการศึกษา > สรุปการวิเคราะห์ผลงานวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์จากการเรียนซ่อมเสริมระหว่าง บทเรียนโปรแกรมแบบสาขาและบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็ม

สรุปการวิเคราะห์ผลงานวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์จากการเรียนซ่อมเสริมระหว่าง บทเรียนโปรแกรมแบบสาขาและบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็ม

1 สถาบัน

มหาวิทยาลัยศิลปากร

2 ชื่อเรื่อง
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์จากการเรียนซ่อมเสริมระหว่าง บทเรียนโปรแกรมแบบสาขาและบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็ม พ.ศ. 2551

3 ชื่อคนทำ
นางสาวทัศนา จรจวบโชค

4วัตถุประสงค์
1) เพื่อนพัฒนาบทเรียนโปรแกรมและสาขาและบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา คณิตศาสตร์เรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็มให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังเรียนซ่อมเสริมด้วยบทเรียนโปรแกรมแบบสาชา และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์เรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็ม
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนซ่อมเสริมด้วยบทเรียนโปรแกรมแบบสาขาและโปรแกรมบทเรียนแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์เรื่องการบวกและลบจำนวนเต็ม

5 ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองหญ้าไซวิทยา อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี เขต 3 ปีการศึกษา 2551 ที่มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็ม ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 160 คน จาก 7 ห้องเรียน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองได้จากการทดสอบประชากรจากแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) (บุญชม ศรีสะอาด 2538 : 191) โดยแยกประเภทกลุ่มตัวอย่างจากคะแนนสอบและเพศแล้วใช้วิธีการจับคู่เลือกตัวอย่างเป็นคู่              ๆ โดยตัวอย่างคู่เดียวกันจะมีเพศเดียวกันและมีคะแนนจากการทดสอบเท่ากัน (ชิดชนก เชิงเชาว์ 2539 : 107)  แบ่งเป็นชาย 15 คู่ และหญิง 15 คู่จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เพื่อแยกตัวอย่างและคู่เข้ากลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 จะได้กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มจำนวน 30 คน แล้วสุ่มกลุ่มที่ 1 เพื่อใช้บทเรียนแบบสาขาโปรแกรมแบบสาขาในการเรียนซ่อมเสริมและกลุ่มที่ 2 เรียนซ่อมเสริมโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ตัวแปร ตัวแปรที่ศึกษามี 2 ตัวแปร ดังนี้
ตัวแปรต้น คือ วิธีการเรียนซ่อมเสริม ซึ่งแบ่งเป็น
1 เรียนซ่อมเสริมโดยใช้บทเรียนโปรแกรมแบบสาขา วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและลบจำนวนเต็ม
2 เรียนซ่อมเสริมโดยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกลบจำนวนเต็ม

ตัวแปรตาม ได้แก่
1 ผลสัมฤทธิ์หลังจากเรียนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและลบจำนวนเต็มด้วยบทเรียนโปรแกรมแบบสาขาและบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2 ระดับความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อบทเรียนโปรแกรมแบบสาขาและบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็ม

6. ระเบียบวิธีวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยวิธีดำเนินการวิจัยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
  2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    -     แบบประเมินสำหรับผู้เชี่ยวชาญ
    -     บทเรียนโปรแกรมแบบสาขา
    -     บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสร้าง
    -     แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    -     แบบสอบถามความพึงพอใจ
  3. แบบแผนการทดลอง
  4. ดำเนินการทดลอง
  5. เก็บรวบรวมข้อมูล
  6. วิเคราะห์ข้อมูล

7. สรุปผลการวิจัย

จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยสามารถสรุปผลได้ดังนี้

1 ประสิทธิภาพของบทเรียนโปรแกรมแบบสาขา วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็ม มีค่าเท่ากับ 82.07/80.78 และประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกลบจำนวนเต็ม มีค่าเท่ากับ 82.87/81.22 ซึ่งเป็นไปตามวิชาคณิตศาสตร์ เกณฑ์ที่กำหนด 80/80

2 นักเรียนที่ซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็มด้วยบทเรียนโปรแกรมแบบสาขา และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01

3 นักเรียนที่มีความพึงพอใจต่อการเรียนซ่อมเสริมด้วยบทเรียนโปรแกรมแบบสาขา อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.64) และมีความพึงพอใจต่อการเรียนซ่อมเสริมด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อยู่ในระดับที่มากที่สุด ( = 4.46)

8. ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้

1 เนื่องจากผลสัมฤทธิ์จากการเรียนซ่อมเสริมด้วยบทเรียนโปรแกรมแบบสาขาและบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการวิจัยในครั้งนี้ไม่แตกต่างกัน จึงสามารถใช้แทนกันได้ตามสภาพบริบทของโรงเรียน

2 จะเห็นได้ว่าบทเรียนโปรแกรมแบบสาขาและบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นสามารถช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์จากการเรียน ซ่อมเสริมด้วยตนเองสูงขึ้นและผ่านเกณฑ์ จึงควรสนับสนุนส่งเสริมให้มีการสร้างสื่อ การซ่อมเสริมนี้อย่างหลากหลาย เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระในการสอนซ่อมเสริมของครูผู้สอนได้อีกทั้งยังฝึกให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน

3 จากการสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนโปรแกรมและบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด จึงควรส่งเสริมให้มีการสร้างและพัฒนาบทเรียนในลักษณะนี้ในรายวิชาอื่นๆ

4 เนื่องจากบทเรียนโปรแกรมแบบสาขาเป็นสื่อรายบุคคลและการเรียนจากบทเรียนโปรแกรมแบบสาขาเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นขณะทำการทดลองควรจะแยกผู้เรียนให้ศึกษาเฉพาะตัวหรือให้ผู้เรียนสามารถนำสื่อไปศึกษาที่อื่นได้

5 สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น หากนำไปใช้กับโรงเรียนที่มีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ควรนำบทเรียนไปเก็บไว้ในเครื่องแม่ข่ายเพื่อความสะดวงในการเข้าไปศึกษาของนักเรียน

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับวิจัยครั้งต่อไป

1 อาจนำสื่อทั้งสองชนิดมาทำการทดลองกับนักเรียน 3 กลุ่ม คือกลุ่มเก่ง กลาง และอ่อน แล้วศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจว่าเหมาะสมกับกลุ่มใด

2 ในการทดลองครั้งต่อไป อาจมีพัฒนาสื่อทั้งสองชนิดนี้กับเนื้อหาวิชาอื่น

3 สามารถนำผลการวิจัยไปทำการศึกษาต่อในด้านความคงทนในการจดจำเนื้อหาของสื่อทั้งสิงชนิด

————————————————————————————————————————————————————-

ผู้สรุปงานวิจัย นางสาวศิรินญา  แสงบัวเผื่อน
รหัสนิสิต 5614650971
สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
_____________________________________________________________________________________

Did you like this? Share it:
  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.