Home > Uncategorized > สรุปการวิเคราะห์ผลงานวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา

สรุปการวิเคราะห์ผลงานวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา

1) สถาบัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2) ชื่อวิทยานิพนธ์/พ.ศ. ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้

ด้วยตนเองกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา

ปีการศึกษา 2551

3) ชื่อเขียน นางสาวปาลิดา สายรัตทอง

4) วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการจัดเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่                                                                             การศึกษาสุรินทร์ เขต 1

2. เพื่อศึกษาการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1

3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้                                                                      ด้วยตนเองกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1

5) ขอบเขตของการวิจัย 1. ประชากร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนประถมศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำนวน 8,877 คน

2. ตัวแปรที่ศึกษา

2.1 ตัวแปรอิสระ           การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง

2.2 ตัวแปรตาม              การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา

6) ระเบียบวิธีวิจัย               (ไฟล์แนบ)

7) ผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. ผลการวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 พบว่า ระดับการปฏิบัติของครูในการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองในภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน ได้ผลดังนี้

1.1 ระดับการปฏิบัติด้านการเตรียมการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของครูอยู่ในระดับมาก

1.2 ระดับการปฏิบัติด้านการสร้างบรรยากาศอยู่ในระดับมาก

1.3 ระดับการปฏิบัติด้านการส่งเสริมการวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้และการวาง                                     แผนการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง

1.4 ระดับการปฏิบัติด้านการส่งเสริมการดำเนินการเรียนรู้และการประเมินความก้าวหน้าอยู่ใน                                         ระดับมาก

1.5 ระดับการปฏิบัติด้านการส่งเสริมการประเมินผลอยู่ในระดับมาก

1.6 ระดับการปฏิบัติด้านบทบาทโดยรวมอื่นๆของครูอยู่ในระดับมาก

2. ผลการวิเคราะห์การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 พบว่า ระดับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนในภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้าน ได้ผลดังนี้

2.1 ระดับการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการตระหนักเกี่ยวกับตนเองและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเรียนอยู่ใน                                  ระดับปานกลาง

2.2 ระดับการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการวางแผนการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง

2.3 ระดับการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการปฏิบัติการตามแผนให้บรรลุจุดหมายอยู่ในระดับปานกลาง

2.4 ระดับการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการควบคุมการจูงใจตนเองให้ปฏิบัติการเรียนรู้บรรลุจุดหมาย                       อยู่ในระดับมาก

2.5 ระดับการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการประเมินความก้าวหน้าอยู่ในระดับปานกลาง

2.6 ระดับการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการปรับปรุงแก้ไขอยู่ในระดับปานกลาง

2.7 ระดับการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองอยู่ในระดับปานกลาง

3. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 พบว่า การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองไม่มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยรวมของนักเรียนระดับประถมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ .073 และเมื่อแยกพิจารณาการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษาเป็นรายด้าน พบว่า การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองมีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการปรับปรุงแก้ไข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ .101

8) ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลวิจัยไปใช้

ผลการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่ครู ผู้บริหาร และบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการ ศึกษาทุกฝ่ายควรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองให้กับนักเรียน ถึงแม้ผลการวิจัยจะพบว่าครูมีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณาผลการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนกลับพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าครูควรดำเนินงานอย่างจริงจังและจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนให้มากขึ้นไปอีก เพราะการจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับการเรียนรู้ของตนเอง เน้นให้นักเรียนคิดและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีต่อนักเรียนหลายด้าน เช่น มีกระบวนการเรียนรู้ที่ดีขึ้น จดจำได้มากขึ้น สนใจในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และมั่นใจในความสามารถเรียนรู้ของตนเองมากขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มตั้งแต่การวางนโยบายและแผนงานการจัดการเรียนการสอนของผู้บริหารและการจัดการเรียนการสอนของครูเอง

2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไป

1. ควรมีการศึกษาวิจัยถึงความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น

2. ควรมีการศึกษาตัวแปรอื่นๆ ที่คาดว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน

***********************

สรุปงานวิจัยโดย

นางสาวอุทุมพร  มุ่งดี 5614651047

สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

Did you like this? Share it:
Categories: Uncategorized Tags:
  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.