Home > Uncategorized > สรุปงานวิจัยเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบในร่างกายสำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสวนแตงวิทยา

สรุปงานวิจัยเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบในร่างกายสำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสวนแตงวิทยา

วิทยานิพนธ์

มหาวิทยาลัย ศิลปกร

เรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบในร่างกายสำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสวนแตงวิทยา จังหวังสุพรรณบุรี ปีการศึกษษ 2553

ชื่อผู้แต่ง วาสนา  ทองดี

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบร่างกาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 โรงเรียนสวนแตงวิทยาให้มีประสิทธิภาพ

2.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 โรงเรียนสวนแตงวิทยา ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบในร่างกาย ก่อนและหลังเรียน

3.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 โรงเรียนสวนแตงวิทยาที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบในร่างกาย

ขอบเขตของการวิจัย

1.  ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสวนแตงวิทยาปีการศึกษา 2553  จํานวน 5  ห้อง นักเรียน  181  คน

2.  กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนสวนแตงวิทยา ได้จากการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มยกชั้น (Cluster  sampling)   มา   1  ห้องเรียน จํานวน 41 คน

3.  ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรต้น (Independent Variables) ได้แก่การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ระบบในร่างกาย

ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ระบบในร่างกาย  และ ความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบในร่างกาย

ระเบียบวิธีการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research  and  Development)  ผู้วิจัยได้กําหนดรูปแบบการวิจัยโดยใช้การวิจัยแบบ  One  Group  Pretest – Posttest  Design  (ล้วน  สายยศ  และ อังคณา  สายยศ  2538  :  249)    คือการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนโดยมีการทดสอบก่อนเรียน (Pretest)  จากนั้นให้นักเรียนเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  แล้วจึงทําแบบทดสอบ หลังเรียน (Posttest)  (พวงรัตน์ ทวีรัตน์ 2543:82) มีรูปแบบการวิจัยดังตาราง

ตารางที่ 5  แสดงแผนการทดลองแบบ One  Group  Pretest – Posttest  Design

กลุ่ม ทดสอบก่อนเรียน ทดลอง ทดสอบหลังเรียน

RE

O1

X

O2

R  หมายถึง   การกําหนดกลุ่มตัวอย่างการสุ่มยกชั้น (Cluster sampling)

E  หมายถึง  กลุ่มทดลอง (Experimental  Group)

O1  หมายถึง  การทดสอบก่อนทําการทดลอง (Pre-Test)

O2  หมายถึง  การทดสอบหลังการทดลอง (Post-Test)

ผลการวิจัย

การวิจัยเรื่อง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบในร่างกาย สําหรับนักเรียน ชั้น มัธยมศึกษา   ปีที่ 2 โรงเรียนสวนแตงวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

1.  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบในร่างกาย สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โรงเรียนสวนแตงวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 76.26/78.66  ซึ่งมีค่าผ่าน เกณฑ์ของการหาประสิทธิภาพที่ได้กําหนดไว้ คือ 75/75

2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบในร่างกาย  สําหรับนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสวนแตงวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี คะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเท่ากับ 26.42  นําไปเปรียบเทียบกับค่า t  ที่ df (41-1)=40 มีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05

3.  ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบในร่างกาย

สําหรับนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนสวนแตงวิทยา  อยู่ในระดับ ดี เป็นไปตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้ มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยภาพรวม (X̅ = 4.43 , S.D = 0.63)

ข้อเสนอแนะ

จากการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสําหรับ การเรียนการสอนที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการทําวิจัยครั้งต่อไป ดังนี้

ข้อเสนอแนะทั่วไป

1.  ผู้เรียนควรมีพื้นฐานคอมพิวเตอร์ก่อนการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หากผู้เรียนมีพื้นฐานทักษะการใช้คอมพิวเตอร์น้อยควรมีการแนะนําผู้เรียน และฝึกทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นให้กับผู้เรียนก่อน เช่น การใช้เมาส์ การใช้แป้นพิมพ์  เนื่องจากการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้เรียนจะต้องศึกษาจากบทเรียนด้วยตนเอง และต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในหลายลักษณะ และเพื่อป้องกันการผิดพลาดในการคลิก หรือ การพิมพ์

นอกจากนั้นผู้สอนควรแนะนําวิธีการใช้บทเรียน

2.  การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนห้องอื่น ๆ ได้ศึกษาและเรียนรู้ตามความสนใจ นอกจากนี้ยังสามารถ นํามาใช้ในการสอนซ่อมเสริมกับนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในรายวิชาต่าง ๆ

3.  ควรให้ผู้เรียนระดับปานกลางหรืออ่อน มีเวลาที่จะศึกษาเนื้อหามากขึ้น

4.  ให้ผู้เรียนนําบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปศึกษาด้วยตนเอง

5.  ควรนําบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง  ระบบในร่างกาย  ไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต  เพราะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน  นักศึกษา และ  บุคคลทั่วไป  และสามารถเรียนได้ทุกสถานที่  ทุกเวลาที่ต้องการ

6.  โรงเรียนควรจัดให้มีหูฟัง ติดอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อบริการนักเรียน เพราะปัจจุบันมีสื่อที่โต้ตอบกับนักเรียนด้วยการฟังเสียง ซึ่งจะมีผลดีคือ ทําให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และไม่รบกวนผู้อื่นในขณะเรียน

ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยครั้งต่อไป

1.  ควรมีการวิจัยและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาวิทยาศาสตร์ ในเนื้อหาอื่น ๆ  หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

2.  ควรมีการวิจัยและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาวิทยาศาสตร์   คู่กับวิธีการสอนรูปแบบอื่นๆ

น.ส. นภาพัชร  แสนสุข

รหัส 5614652591

Did you like this? Share it:
Categories: Uncategorized Tags:
  1. No comments yet.
  1. March 10th, 2014 at 07:55 | #1