ข้อแนะนำในการบันทึกบล็อก (BLOG)

January 20th, 2012 Leave a comment Go to comments

คำถามนี้นิสิตทุกคนคงมีคำตอบที่ไม่เหมือนกัน ถึงแม้ว่านิสิตจะได้เห็นสิ่งดียวกัน หรือในเวลาเดียวกันก็ตาม  เพราะการเรียนรู้ของแต่ละคนแตกต่างกันไป ตามพื้นฐานความรู้เดิมในเรื่องนั้นและ มุมมองของนิสิต ตลอดจนความสามารถในการรับรู้และการเรียนรู้ของแต่ละคนด้วย

ความรู้ของนิสิตแต่ละคนที่ได้รับเกิดจากประสบการณ์เชิงประจักษ์ จากแหล่งปฐมภูมิ (ตามองเห็นสิ่งต่างๆ หูได้ยินเสียง หรือ การรับสัมผัสอื่นๆ) และประสบการณ์จากแหล่งทุติยภูมิเพิ่มเติม เช่นจากเอกสาร หนังสือ หรือจากเว็บไซท์  จะมีประโยชน์มากยิ่งขึ้น ความรู้และประสบกาณ์ต่างๆ ถ้าหากมีการบันทึกความรู้และประสบกาณ์เหล่านี้ไว้ นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน หรือมีการนำประเดินต่างๆมาอภิปรายร่วมกัน  องค์ความรู้ใหม่จะเกิดขึ้นในตัวบุคคล มากกว่าที่จะเก็บไว้ในตัวคนเดียว ความสำเร็จของการไปทัศนศึกษาครั้งนี้จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆของภาควิชาให้กับนิสิตได้พบเห็นสิ่งต่างๆเพียงอย่างเดียว แต่ทว่ายังขึ้นอยู่กับผลของการวิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรู้ต่างๆ ของนิสิตอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการจัดการความรุ้สำหรับนิสิต  โดยได้จัดทำบล็อกต้นแบบ (BLOG) ขึ้น เพื่อเป็นเวทีให้นิสิตได้มีโอกาสบันทึกความรู้และประสบการต่างๆ ที่ได้รับ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรุ้ซึ่งกันและกัน   ภายใต้ข้อตกลง ดังต่อไปนี้

1. เรื่องที่บันทึกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการไปทัศนศึกษาจังหวัดต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็น 7 หมวดย่อย*
2. เนื้อหาที่บันทึกไม่ควรยาวเกินไป และควรมีการกลั่นกรองมาก่อน เพื่อให้ได้เนื้อหาสารัตถะที่เป็นประโยชน์จริงๆ แก่นิสิต
3. คำที่ใช้ในการบันทึก ต้องมีความเหมาะสม เช่น ไม่เป็นคำหยาบ  คำที่ให้ความหมายในทางที่ไม่ดี และมีผลกระทบต่อบุคคลอื่นๆ
4. นิสิตสามารถบันทึกทั้งข้อความและภาพประกอบได้  แต่มีข้อแนะนำเกี่ยวกับขนาดของภาพคือ ควรมีหน่วยความจำไม่มาก (เช่น มีความกว้างยาว ไม่เกิน 500 พิกเซล ที่ความละเอียด (Resolution) ประมาณ 72 พิกเซลต่อนิ้ว )

เพียงการปฏิบัติตามข้อตกลงเท่านี้ นิสิตก็สามารถบันทึกความรู้และประสบการณ์เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเองและเพื่อนๆได้

*หมายเหตุ    หัวข้อที่บันทึก ได้กำหนดไว้ใน 7 หมวดย่อย ดังนี้


 1) สถานที่สำคัญ 
(บันทึกประสบการณ์และความรู้ที่เกี่ยวกับสถานที่สำคัญในจังหวัดที่ไปเยือน เช่น วัด โบราณสถาน และ สถานที่สำคัญอื่นๆ)
2) สถานศึกษาที่ไปศึกษาดูงาน
(บันทึกประสบการณ์และความรู้ด้านการจัดการศึกษาและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปที่ได้รับจากการไปดูงานในสถาบันการศึกษา)
3) สภาพสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ 
(บันทึกประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับจากการได้ไปสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในช่วงที่เดินทางไปดูงาน เช่น สภาพป่า ต้นไม้ และพืชพันธุ์ที่ได้พบเห็น เป็นต้น)
4) วิถีชี่วิตของผู้คน
(บันทึกสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมของผู้คนที่อยู่ในเส้นทางที่ไปทัศนศึกษา)
5) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา 
(บันทึกประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับจากการไปฟังบรรยายและดูงานด้านการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของสถาบันการศึกษาที่ไปดูงาน)
6) การฝึกประสบการณ์การให้บริการวิชาการแก่สังคม 
(บันทึกผลการฝึกประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับ จากการให้บริการวิชาการแก่สังคมในโรงเรียนที่ไปปฏิบัติการฝึกประสบการณ์)
7) เรื่องอื่นๆ
(ประสบการณ์และความคิดเห็นที่นอกเหนือจากทั้ง 6 หมวด)

ดร.ณรงค์ สมพงษ์

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.